วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)


การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)


   
      
      การวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จะใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือในการวัด ซึ่งรูปแบบชองข้อสอบจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัด 
      ข้อสอบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
             1.ให้ตอบโดยอิสระ
             2. จำกัดคำตอบ
             3. ตอบตามโครงสร้างที่กำหนด
โดยอาศัยหลักเกณฑ์ง่ายๆ 4 ประการ ในการประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ข้อสอบ
             1. ดูว่าผลการเรียนที่ต้องการวัดอยู่ระดับใด
             2.ดูว่าผลสอบจะเอาไปใช้อะไร
             3. ดูว่าเด็กที่สอบมีลักษณะอย่างไร
             4. ดูเวลาที่ใช้ในการสร้าง ดำเนินการสอน และการตรวจให้คะเเนน

    ข้อสอบ มีอยู่ 5 ชนิด ดังนี้


บลูมเเละคณะ ได้เเบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ขั้น โดยเรียงจากพฤติกรรมต่ำสุดถึงสูงสุด คือ

            

ด้านความรู้ความจำ =  ถามเพื่อวัดให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ การจำประสบการณ์จากการสอนจากการบอกเล่า จากตำรา

ด้านความเข้าใจ คำถามจะไม่ถามตรงจากตำราหรือสิ่งที่ที่สอนไว้แต่โยงความรู้ที่เรียนมาสัมพันธ์กับคำถามแล้วเปลี่ยนเป็นคำตอบใหม่ 

ด้านการนำไปใช้  ถามเพื่อวัดความสามารถในการนำเอาความรู้ ความเข้าใจ มาประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหา ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใหม่

ด้านการวิเคราะห์  ถามเพื่อวัดความสามารถในการแยกแยะหรือแจกแจงรายละเอียดของเรื่องราว ความคิด การปฏิบัติ ออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

ด้านการสังเคราะห์ =ถามเพื่อวัดความสามารถในการรวบรวมและผสมผสานรายละเอียดปลีกย่อยของข้อมูล มาสาร้างเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม

ด้านการประเมินค่า = ถามเพื่อวัดความสามารถในการสรุปคุณค่าหรือตีราคาเกี่ยวกับเรื่องราว ความคิด พฤติกรรม ว่า ดี - เลว , เหมาะ 

ตัวอย่างข้อสอบการวัดด้านพุทธิพิสัย

1. ด้านความรู้ความจำ
           
          1.1 วันลอยกระทงตรงกับข้อใด
                    ก.15 ค่ำ เดือน 9
                    ข. 15 ค่ำ เดือน 10
                    ค. 15 ค่ำ เดือน 11
                    ง. 15 ค่ำ เดือน 12

        ตอบ ง. 15 ค่ำ เดือน 12

2. ด้านความเข้าใจ

            2.1 ลูกที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
                  ก. มะขิดชอบเที่ยวกลางคืน
                  ข.มะเฟืองชอบโดดเรียนไปห้องสมุด
                  ค.มะเดี่ยวทำงานบ้านช่วยพ่อเเม่
                  ง.มะปรางขโมยเงินเเม่เป็นประจำ
         
           ตอบ ค.มะเดี่ยวทำงานบ้านช่วยพ่อเเม่

3. ด้านการนำไปใช้

            3.1 ในการทำแกงพะเเนงหมู หากไม่มีกะทิเราจะสามารถใช้สิ่งใดทดเเทนได้
                   ก. นมสด
                   ข.น้ำมะพร้าว
                   ค.แป้งมันสำปะหลัง
                   ง.น้ำตาล

            ตอบ  ก. นมสด

4. ด้านการวิเคราะห์

             4.1  "เมื่อชีวิต ผิดหวัง อย่านั่งท้อ
                      จงรีบต่อ สู้เถิด จะเกิดผล
                      ผิดเป็นครู รู้เเก้ ให้เเก่ตน
                      เกิดเป็นคน คิดต่อสู้ จะอยู่ดี

                                                   วัดนาครินทร์"
                     กลอนบทนี้ผู้เเต่งต้องการสื่อถึงสิ่งใด
                   ก.คนเราต้องประหยัดอดออม
                   ข.เกิดเป็นคนต้องไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
                   ค.เกิดเป็นคนต้องหมั่นทำความดี
                   ง. เกิดเป็นคนต้องศึกษาหาความรู้

            ตอบ ข.เกิดเป็นคนต้องไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

5. ด้านการสังเคราะห์
               
                5.1 มะขิดเป็นคนเก่ง เพราะตั้งใจเรียน สรุปว่า
                       ก.คนเก่งต้องตั้งใจเรียน
                       ข. เมื่อตั้งใจเรียนจะเป็นคนเก่ง
                       ค.คนที่ตั้งใจเรียนเป็นคนเก่ง
                       ง. ถ้ามะขิดตั้วใจเรียนจะเป็นคนเก่ง

               ตอบ  ข. เมื่อตั้งใจเรียนจะเป็นคนเก่ง

6.ด้านการประเมินค่า

                 6.1 ประเพณีลอยกระทงดีหรือไม่ เพราะเหตุใด
                        ก. ไม่ดี เพราะ เป็นความงมงาย
                        ข. ไม่ดี เพราะ เสียเวลา
                        ค. ดี เพราะ มีผลทางใจ
                        ง. ดี เพราะ น้ำจะได้ใสสะอาด

               ตอบ ค. ดี เพราะ มีผลทางใจ

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

ที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

Inside Out


“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?”
คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า ?

    ในตัวมนุษย์ทุกคน มีอารมณ์หลักๆอยู 6 แบบ คือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger)
ซึ่งผู้สร้างหนังอนิเมชั่นนำอารมณ์ทั้ง6 มาสร้างเป็นตัวละคร ได้เป็น ลั้นลา ลั้นลา(ความสุข) เศร้าซึม(ความเศร้า) หยะเเหยง(ความขยะเเขยง) ฉุนเฉียว(ความโกรธ) โดยผู้สร้างได้ร่วมความกลัวเเละความประหลาดใจเข้าด้วยกัน กลายเป็น กลั๊วกลัว(ความกลัว)
     ตัวเอกของเรื่อง คือ ไรลีย์ เด็กหญิงอายุ11 ปี ผู้ร่าเริงเเจ่มใส เเละมองโลกในเเง่ดีเสมอ ซึ่งภายในหัวของเธอจะประกอบด้วย 5 ตัวอารมณ์ที่คอยควบคุมการกระทำเเละความรู้สึกของไรลีย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยลั๊นลา(ความสุข) ทำให้เธอเป็นเด็กที่มีความสุขเสมอ ในทุกการกระทำของไรลีย์จะถูกเก็บเป็นลูกบอลความทรงจำ ความทรงจำเหล่านั้นเมื่อครบวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของความทรงจำหลัก ซึ่งความทรงจำหลักนี้เองที่จะส่งผลต่อบุคลิกภาพในเเต่ละด้านของไรลีย์


    เเละเเล้วเรื่องวุ่นวายก็เกิดขึ้น เมื่อเศร้าซึม(ความเศร้า)เข้ามายุ่งกับความทรงจำแห่งความสุข จากที่ไรลีย์เคยมีความสุขเมื่อนึกถึงความทรงจำนั้นๆก็กลับกลายเป็นความเศร้า ลั๊นลาพยายามจะย้อมสีความทรงจำให้กลับมาดังเดิม จนลั็นลาเเละเศร้าซึมถูกดูดเข้าไปในท่อแห่งการนึกถึง ซึ่งเชื่อมไปยังที่เก็บความทรงจำระยะยาว ลั๊นลาเเละเศร้าซึมจึงต้องหาทางกลับไปยังสำหนักงานใหญ่ให้จงได้


    เมื่อลั๊นลาหายไป ความวุ่นวายในสำนักงานใหญ่ก็ได้เกิดขึ้น เหล่าอารมณ์ที่เหลือเข้ามาควบคุม หากเเต่ความวุ่นวายเหล่านั้น ได้ทำให้ไรลีย์เติบโตมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ด้านต่างๆของตัวเองมากขึ้น เข้าใจว่าชีวิตของคนเราไม่ได้มีความสุขเพียงอย่างเดียว เราต้องรู้จักปรับใจ ให้เข้ากับสถาณการณ์ที่เปลี่ยนเเปลงได้อย่างกลมกลืน ช่วยพัฒนา E.Q. และเตรียมไรลีย์ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนเเปลงในอนาคต

สิ่งที่ได้จากการดูหนังอนิเมชั่น Inside Out

    ตอนเป็นเด็กเราทุกคนจะเเสดงออกไม่ซับซ้อน รู้สึก สนุก เศร้า โกรธ กลัว ก็เเสดงออกมาตรงๆ แต่เมื่อเราโตขึ้น การเเสดงอารมณ์ของเราก็ซับซ้อนตามไปด้วย  ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจ เเละพยายามปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนเเปลงให้ได้ เราจะไม่รู้จักความสุขหากไม่เคยที่จะเศร้า เพราะความสุขเเละความเศร้าจะมาด้วยกันเสมอ

ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1.ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์

เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะปฏิสัมพันธ์ ในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ  2 อย่าง  คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา  (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accomodation)  เพียเจต์ กล่าวว่า  ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น  คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้นไรลีย์ก็เช่นกัน ตอนเด็กๆไรลีย์มีเเต่ความสนุก สดใสร่าเริง มองโลกในเเง่ดี เเต่เมื่อไรลีย์ย้ายบ้านใหม่ เจอสิ่งเเวดล้อมใหม่ๆ ก็จะเกิดต่อต้านก่อนจะค่อยๆปรับตัวได้ ดังในตอนท้ายของเรื่อง

2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์

ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode


3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล

ไรลีย์ ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่กับหลักเกณฑ์เดิมที่เคยสร้างมาแล้ว


4. ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ

ไรลีย์ มีการทำงานกระบวนการต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้จักคิดของตนเอง (Metacognition)




วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral Theories)

การเรียนรู้ 
คือ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ
สิ่งเเวดล้อม

กลุ่มพฤติกรรมนิยม(ฺBehaviorism หรือ S-R Associationism) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) หรือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา ในแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองหรือการเเสดงพฤติกรรมนิยม และถ้าหากได้รับการเสริมเเรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น 

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำเเนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1.พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งจะสามารถวัดเเละสังเกตได้
          2.พฤติกรรมโอเปอร์เเรนด์ หมายถึง เป็นพฤติกรรมที่คน หรือสัตว์เเสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเเบบคลาสสิก(Classical Conditioning Theory)

เเนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
พาฟลอฟเป็นนักสรีรวิทยาชาวรัสเซียได้สังเกตสุนัขที่มีน้ำลายไหลเมื่อเจออาหาร พาฟลอฟสนใจในในพฤติกรรมน้ำลายไหลน้ำลายไหลก่อนได้รับอาหารของสุนัขมาก จึงคิดทำการศึกษาเรื่องนี้และทำการวิจัยอย่างละเอียด






การทดลองที่ทำให้สนุขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง

   สรุปว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ จากครั้งเเรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆกับเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้ผงเนื้อ ครั้งต่อๆมาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือน้ำลายไหล ซึ่งนั้นคือการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมหรือการเกิดการเรียนรู้นั่นเอง

แนวคิดของวัตสัน(Watson)

   วัตสันเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขเเบบคลาสสิกกับมนุษย์ โดยศึกษาเรื่องความกลัว ซึ่งสรุปผลการทดลองกับทารกอายุ 8-9 เดือน ทารกในวัยนี้จะกลัวเสียงดังหากเเต่ไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู โดยวัตสันได้ปล่อยให้ทารกเล่นกับหนู ในขณะที่ทารกเอื้อมมือไปจับหนูให้ผู้ทดลองใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เกิดเสียงดังขึ้นเมื่อทำติดต่อกัน7ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงทารกเห็นหนูทารกก็จะเเสดงความกลัวทันที


ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูของทารกด้วยการให้มารดาของทารกอุ้มในขณะที่ผู้ทดลองยืนหนูในทารก ตอนเเรกทารกจะร้องไห้กลัวแต่หลังจากที่เเม่ปลอบว่าไม่มีอะไรน่ากลัว พร้อมกับเเม่ลูบตัวหนู จนในที่สุดทารกก็เลิกกลัวหนู ซึ่งภายหลังเเพทย์ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวสิ่งแปลกๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ(Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
ธอร์นไดค์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมเเรง ที่จะทำให้ได้รับการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองดังนี้

ธอร์นไดค์ได้สร้างสถานการณ์โดยจับเเมวที่กำลังหิวใส่กรงที่มีสลักปิดไว้ และนำจานอาหารวางไว้นอกกรง ในการทดลองเเมวจะเดินไปเดิมมา และพยายามหาทางออกมากินอาหารข้างนอก บังเอิญไปจับสลักทำให้ประตูเปิด เเมวสามารถออกมากินอาหารได้ ซึ่งธอร์นไดค์ได้เรียกการเรียนรู้ของเเมวว่า "การเรียนรู้เเบบลองผิดลองถูก" และจากผลการทดลองทำให้ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฏแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้

 กฏเเห่งการเรียนรู้
1.กฏเเห่งผล (Law of Effect)
2.กฏแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
3,กฏแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
4,กฏแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)

แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)

   แนวคิดของสกินเนอร์สอดคล้องกับธอร์นไดค์เกี่ยวกับการเสริมเเรง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ แต่จะแตกต่างกันที่ว่า สกินเนอร์คิดว่าการเชื่อมโยงจะเกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนอง ไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามเเนวคิดของธอร์นไดค์

การเสริมเเรง

การเรียนรู้เเบบ Operant Conditioning นั้น ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเอง มิใช่เป็นการเเสดงพฤติกรรมเนื่องจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น โดยสกินเนอร์ได้เเบ่งการเสริมเเรงออกเป็น 2ประเภท คือการเสริมเเรงทางบวกและการเสริมเเรงทางลบ
   
    การเสริมเเรงทางบวก คือ สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอเเรนต์เกิดขึ้นอีก ซึ่งจะเเตกต่างกับการให้รางวัล การเสริมเเรงทางบวกจะต้องส่งผลให้บุคคลเเสดงพฤติกรรมซ้ำๆอีก และมีการเเสดงพฤติกรรมนั้นอย่างถาวร
    
    การเสริมเเรงทางลบ คือ การเปลี่ยนสภาพการณ์เพื่อเพิ่มความคงทนของการเเสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยการงด หรือดึงเอาสิ่งเร้าที่ผู้เรียนพึงพอใจออกไป แต่ไม่ใช่การลงโทษ

สกินเนอร์ได้เเบ่งการให้เเรงเสริมออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การเสริมเเรงทุกครั้ง และการเสริมเเรงเป็นครั้งคราว












วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่1 นวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา(ตอบคำถามท้ายบท)

1.  MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เเละเพราะอะไร

ตอบ เป็นนวัตกรรมด้านสื่อการสอน เพราะ MOCCs  เป็นการนำเทคโนโลยีและวิธีการสอนสมัยใหม่มาผสมผสานกัน ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ผ่านช่องทางออนไลน์  ซึ่งสิ่งที่ MOCCs มีนอกเหนื่อจากสื่อการสอนปกติ อย่าง VDO หนังสือ แบบฝึกหัด คือมี Forum ให้ผู้เรียนเเลกเปลี่ยนสนทนาระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือผู้สอนได้

2.  ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาเเบ่งออกได้กี่ประเภทเเละเเต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร

ตอบ   5 ประเภท
 1.นวัตกรรมหลักสูตร
    = ช่วยให้มีวิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี,เศรษฐกิจ,สังคมประเทศและของโลก ซึ่งต้องอาศัยเเนวคิดเเละวิธีการใหม่ๆ เข้ามาช่วยเหลือ

 2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
    =ใช้ปรับปรุงเเละคิดค้นพัฒนาวิธีการสอนรูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้ ซึ้งต้องอาศัยวิธีการเเละเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย

3.นวัตกรรมสื่อการสอน
   =สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ ทั้งด้านเรียนด้วยตนเอง เรียนเป็นกลุ่ม ตลอดจนสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 4.นวัตกรรมการประเมินผล
    = นำไปใช้เพื่อพัฒนาการวัดผล ประเมินผล เพื่อให้มีประสิทธิภาพเเละรวดเร็ว

5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
   = เป็นการใช้สาระสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เช่น การจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงาน ซึ่งต้องการระบบที่สมบูรณ์และมีความปลอดภัยสูง

3.  สมมุติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความเเตกต่างระหว่างบุลคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนเเละเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษานั้น

ตอบ นวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction เพราะเราจบไปเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคโนโลยี จึ่งใช้เลือกคอมพิวเตอร์เป็นสื่อ  เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามอัตราความเร็วของเเต่ละคนโดยไม่ต้องเร่งให้ทันเพื่อนหรือรอเพื่อนคนอื่นๆ โดยมีครูคอยช่วยให้คำแนะนำ หรืออธิบายในส่วนที่นักเรียนมีข้อสงสัยเป็นรายบุคคล

4.  ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องรู้เเเละเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา

ตอบ การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นนักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆเพื่อสามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

5.  นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างเเพร่หลายในปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายข้อดีเเละข้อจำกัด ของนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา1ประเภท

ตอบ ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction)
        ข้อดี ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้นตามศักยภาพของตน บรรยากาศการเรียนมีความสนุกสนาน เรียนได้ทุกเวลาที่ตัวนักเรียนต้องการ และประหยัดงบประมานในการผลิตสื่อในรูปแบบอื่นๆ
        ข้อด้อย การจะออกแบบ จัดทำ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องอาศัยความชำนาญของผู้จัดทำ ในการระดมความคิดเพื่อที่จะสร้างสือออกมา และใช้เวลานานในการพัฒนาตัวสื่อการเรียนการสอน