วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral Theories)

การเรียนรู้ 
คือ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ
สิ่งเเวดล้อม

กลุ่มพฤติกรรมนิยม(ฺBehaviorism หรือ S-R Associationism) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) หรือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา ในแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองหรือการเเสดงพฤติกรรมนิยม และถ้าหากได้รับการเสริมเเรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น 

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำเเนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1.พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งจะสามารถวัดเเละสังเกตได้
          2.พฤติกรรมโอเปอร์เเรนด์ หมายถึง เป็นพฤติกรรมที่คน หรือสัตว์เเสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเเบบคลาสสิก(Classical Conditioning Theory)

เเนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
พาฟลอฟเป็นนักสรีรวิทยาชาวรัสเซียได้สังเกตสุนัขที่มีน้ำลายไหลเมื่อเจออาหาร พาฟลอฟสนใจในในพฤติกรรมน้ำลายไหลน้ำลายไหลก่อนได้รับอาหารของสุนัขมาก จึงคิดทำการศึกษาเรื่องนี้และทำการวิจัยอย่างละเอียด






การทดลองที่ทำให้สนุขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง

   สรุปว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ จากครั้งเเรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆกับเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้ผงเนื้อ ครั้งต่อๆมาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือน้ำลายไหล ซึ่งนั้นคือการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมหรือการเกิดการเรียนรู้นั่นเอง

แนวคิดของวัตสัน(Watson)

   วัตสันเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขเเบบคลาสสิกกับมนุษย์ โดยศึกษาเรื่องความกลัว ซึ่งสรุปผลการทดลองกับทารกอายุ 8-9 เดือน ทารกในวัยนี้จะกลัวเสียงดังหากเเต่ไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู โดยวัตสันได้ปล่อยให้ทารกเล่นกับหนู ในขณะที่ทารกเอื้อมมือไปจับหนูให้ผู้ทดลองใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เกิดเสียงดังขึ้นเมื่อทำติดต่อกัน7ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงทารกเห็นหนูทารกก็จะเเสดงความกลัวทันที


ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูของทารกด้วยการให้มารดาของทารกอุ้มในขณะที่ผู้ทดลองยืนหนูในทารก ตอนเเรกทารกจะร้องไห้กลัวแต่หลังจากที่เเม่ปลอบว่าไม่มีอะไรน่ากลัว พร้อมกับเเม่ลูบตัวหนู จนในที่สุดทารกก็เลิกกลัวหนู ซึ่งภายหลังเเพทย์ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวสิ่งแปลกๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ(Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
ธอร์นไดค์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมเเรง ที่จะทำให้ได้รับการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองดังนี้

ธอร์นไดค์ได้สร้างสถานการณ์โดยจับเเมวที่กำลังหิวใส่กรงที่มีสลักปิดไว้ และนำจานอาหารวางไว้นอกกรง ในการทดลองเเมวจะเดินไปเดิมมา และพยายามหาทางออกมากินอาหารข้างนอก บังเอิญไปจับสลักทำให้ประตูเปิด เเมวสามารถออกมากินอาหารได้ ซึ่งธอร์นไดค์ได้เรียกการเรียนรู้ของเเมวว่า "การเรียนรู้เเบบลองผิดลองถูก" และจากผลการทดลองทำให้ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฏแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้

 กฏเเห่งการเรียนรู้
1.กฏเเห่งผล (Law of Effect)
2.กฏแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
3,กฏแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
4,กฏแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)

แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)

   แนวคิดของสกินเนอร์สอดคล้องกับธอร์นไดค์เกี่ยวกับการเสริมเเรง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ แต่จะแตกต่างกันที่ว่า สกินเนอร์คิดว่าการเชื่อมโยงจะเกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนอง ไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามเเนวคิดของธอร์นไดค์

การเสริมเเรง

การเรียนรู้เเบบ Operant Conditioning นั้น ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเอง มิใช่เป็นการเเสดงพฤติกรรมเนื่องจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น โดยสกินเนอร์ได้เเบ่งการเสริมเเรงออกเป็น 2ประเภท คือการเสริมเเรงทางบวกและการเสริมเเรงทางลบ
   
    การเสริมเเรงทางบวก คือ สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอเเรนต์เกิดขึ้นอีก ซึ่งจะเเตกต่างกับการให้รางวัล การเสริมเเรงทางบวกจะต้องส่งผลให้บุคคลเเสดงพฤติกรรมซ้ำๆอีก และมีการเเสดงพฤติกรรมนั้นอย่างถาวร
    
    การเสริมเเรงทางลบ คือ การเปลี่ยนสภาพการณ์เพื่อเพิ่มความคงทนของการเเสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยการงด หรือดึงเอาสิ่งเร้าที่ผู้เรียนพึงพอใจออกไป แต่ไม่ใช่การลงโทษ

สกินเนอร์ได้เเบ่งการให้เเรงเสริมออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การเสริมเเรงทุกครั้ง และการเสริมเเรงเป็นครั้งคราว












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น