Inside Out
“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?”
คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า ?
ในตัวมนุษย์ทุกคน มีอารมณ์หลักๆอยู 6 แบบ คือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger)
ซึ่งผู้สร้างหนังอนิเมชั่นนำอารมณ์ทั้ง6 มาสร้างเป็นตัวละคร ได้เป็น ลั้นลา ลั้นลา(ความสุข) เศร้าซึม(ความเศร้า) หยะเเหยง(ความขยะเเขยง) ฉุนเฉียว(ความโกรธ) โดยผู้สร้างได้ร่วมความกลัวเเละความประหลาดใจเข้าด้วยกัน กลายเป็น กลั๊วกลัว(ความกลัว)
ตัวเอกของเรื่อง คือ ไรลีย์ เด็กหญิงอายุ11 ปี ผู้ร่าเริงเเจ่มใส เเละมองโลกในเเง่ดีเสมอ ซึ่งภายในหัวของเธอจะประกอบด้วย 5 ตัวอารมณ์ที่คอยควบคุมการกระทำเเละความรู้สึกของไรลีย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยลั๊นลา(ความสุข) ทำให้เธอเป็นเด็กที่มีความสุขเสมอ ในทุกการกระทำของไรลีย์จะถูกเก็บเป็นลูกบอลความทรงจำ ความทรงจำเหล่านั้นเมื่อครบวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของความทรงจำหลัก ซึ่งความทรงจำหลักนี้เองที่จะส่งผลต่อบุคลิกภาพในเเต่ละด้านของไรลีย์
เเละเเล้วเรื่องวุ่นวายก็เกิดขึ้น เมื่อเศร้าซึม(ความเศร้า)เข้ามายุ่งกับความทรงจำแห่งความสุข จากที่ไรลีย์เคยมีความสุขเมื่อนึกถึงความทรงจำนั้นๆก็กลับกลายเป็นความเศร้า ลั๊นลาพยายามจะย้อมสีความทรงจำให้กลับมาดังเดิม จนลั็นลาเเละเศร้าซึมถูกดูดเข้าไปในท่อแห่งการนึกถึง ซึ่งเชื่อมไปยังที่เก็บความทรงจำระยะยาว ลั๊นลาเเละเศร้าซึมจึงต้องหาทางกลับไปยังสำหนักงานใหญ่ให้จงได้
เมื่อลั๊นลาหายไป ความวุ่นวายในสำนักงานใหญ่ก็ได้เกิดขึ้น เหล่าอารมณ์ที่เหลือเข้ามาควบคุม หากเเต่ความวุ่นวายเหล่านั้น ได้ทำให้ไรลีย์เติบโตมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ด้านต่างๆของตัวเองมากขึ้น เข้าใจว่าชีวิตของคนเราไม่ได้มีความสุขเพียงอย่างเดียว เราต้องรู้จักปรับใจ ให้เข้ากับสถาณการณ์ที่เปลี่ยนเเปลงได้อย่างกลมกลืน ช่วยพัฒนา E.Q. และเตรียมไรลีย์ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนเเปลงในอนาคต
สิ่งที่ได้จากการดูหนังอนิเมชั่น Inside Out
ตอนเป็นเด็กเราทุกคนจะเเสดงออกไม่ซับซ้อน รู้สึก สนุก เศร้า โกรธ กลัว ก็เเสดงออกมาตรงๆ แต่เมื่อเราโตขึ้น การเเสดงอารมณ์ของเราก็ซับซ้อนตามไปด้วย ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจ เเละพยายามปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนเเปลงให้ได้ เราจะไม่รู้จักความสุขหากไม่เคยที่จะเศร้า เพราะความสุขเเละความเศร้าจะมาด้วยกันเสมอ
ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1.ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะปฏิสัมพันธ์ ในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation) เพียเจต์ กล่าวว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้นไรลีย์ก็เช่นกัน ตอนเด็กๆไรลีย์มีเเต่ความสนุก สดใสร่าเริง มองโลกในเเง่ดี เเต่เมื่อไรลีย์ย้ายบ้านใหม่ เจอสิ่งเเวดล้อมใหม่ๆ ก็จะเกิดต่อต้านก่อนจะค่อยๆปรับตัวได้ ดังในตอนท้ายของเรื่อง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
ไรลีย์ ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่กับหลักเกณฑ์เดิมที่เคยสร้างมาแล้ว
4. ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ไรลีย์ มีการทำงานกระบวนการต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้จักคิดของตนเอง (Metacognition)